ถ้าเราต้องการติดตั้งระบบแสงสว่างภายในโกดังคลังสินค้า เราจะเลือกโคมไฟ LED อย่างไร เพื่อให้ประหยัดพลังงานมากที่สุด มีอายุการใช้งานยาวนาน และได้ค่าความสว่างที่เพียงพอต่อการทำงานตามมาตรฐานความปลอดภัย
โดยในหัวข้อนี้จะเป็นการอธิบายผ่านตัวอย่างการออกแบบแสงสว่าง และติดตั้งโคมไฮเบย์ LED ภายในคลังสินค้าขนาด 150x186 เมตร เพื่อให้ได้ค่าความสว่างไม่น้อยกว่า 200 ลักซ์ ซึ่งเป็นค่าความสว่างมาตรฐานสำหรับคลังสินค้า
ปัญหานี้มักเกิดกับโคมไฟที่ใช้ชิป LED คุณภาพต่ำ และโคมไฟมีน้ำหนักเบา เนื่องจากลดต้นทุนโดยการลดขนาดของโคมไฟ หรือ ใช้อลูมิเนียมน้อยลง ผลที่ตามมา คือ ประสิทธิภาพการระบายความร้อนต่ำ ประกอบกับสภาพอากาศร้อนของไทย ทำให้ชิป LED เสื่อมสภาพเร็ว แสงสว่างจึงลดลงอย่างรวดเร็ว
ดังนั้น การเลือกโคมไฮเบย์ LED ให้เหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนของไทย ไม่ควรพิจารณาแค่ขนาดกำลังไฟ หรือ วัตต์ เพียงอย่างเดียว แต่ควรพิจารณาถึงประสิทธิภาพการระบายความร้อนร่วมด้วย โดยเบื้องต้นสามารถพิจารณาได้จากขนาดโคมไฟที่ไม่เล็ก หรือ นำ้หนักเบาจนเกินไป จนส่งผลต่ออายุการใช้งานของ LED
ขนาดกำลังไฟ หรือ วัตต์ ของโคมไฟ LED high bay ไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่เป็นตัวกำหนดปริมาณแสงสว่างที่ออกจากโคมไฟ หรือ ที่เราเรียกว่า ค่าลูเมน (lumen) แต่อีกปัจจัยที่สำคัญ คือ ประสิทธิภาพของชิป LED
ชิป LED มีประสิทธิภาพสูง หมายถึง ถ้าเราให้พลังงานที่เท่ากัน ชิป LED ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าจะให้แสงสว่างที่ออกมามากกว่า แต่การจะคงระดับความสว่างนี้ไปได้นานแค่ไหน จะขึ้นอยู่กับการออกแบบชุดระบายความร้อน หรือ heat sink ยิ่งชุดระบายความร้อนมีขนาดใหญ่ ประสิทธิภาพการระบายความร้อนก็จะเพิ่มมากขี้น
ปัญหานี้เกิดจากการเลือกใช้เลนส์ที่ไม่เหมาะสมกับความสูง และระยะห่างระหว่างโคมไฟ ทำให้ต้องใช้จำนวนโคมไฟมากกว่าที่ควรจะเป็น เพื่อให้ได้ค่าความสว่างตามที่ต้องการ หรือ ผ่านมาตรฐานความปลอดภัย
โคมไฟไฮเบย์ LED มักถูกติดตั้งใกล้กับหลังคาเมทัลชีทที่มีความร้อนสะสมสูงจากแสงแดด ทำให้อุณหภูมิโดยรอบโคมไฟมีค่าสูง ถ้าวัสดุที่เลือกประกอบโคมไฟมีคุณภาพต่ำ เช่น แผ่นปิดหน้าโคมไฟ เลนส์ ยางกันน้ำกันฝุ่น น็อต และสายไฟ เป็นต้น จะเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่ออายุการใช้งานของโคมไฟที่สั่นลง
การออกแบบแสงสว่างโดยผู้เชี่ยวชาญก่อนทำการติดตั้งถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะแสงสว่างที่มีคุณภาพไม่ใช่แค่ได้ค่าความสว่างที่ต้องการ แต่ยังหมายถึง
ทีมงานได้รับโจทย์ในการออกแบบแสงสว่างให้คลังสินค้าแห่งนี้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเก็บสินค้าได้ 2 ลักษณะ คือ
โดยทั้ง 2 ลักษณะ ต้องได้ค่าความสว่างไม่น้อยกว่า 200 lux
การออกแบบแสงสว่างต้องคำนวนระยะห่างระหว่างโคมไฟให้เหมาะสม โดยไม่น้อยเกินไปจนต้องใช้โคมไฟจำนวนมาก และไม่มากเกินไปจนทำให้เกิดเงาดำระหว่างโคมไฟ
ผลจากการจำลองแสงสว่าง (Lighting Simulation) เราเลือกใช้ โคมไฮเบย์ LED ขนาด 150W รุ่น Series 8 แบรนด์ BOX BRIGHT ควบคุมทิศทางของแสงสว่างด้วยเลนส์คุณภาพสูงมุม 50 องศา และเลือกใช้โทนแสงขาวถนอมสายตา 5000K จำนวน 550 โคม
ระยะห่างระหว่างโคมไฟที่เหมาะสม คือ 8.6 เมตร และ 6 เมตร โดยติดตั้งที่ระดับความสูง 10.5 เมตร
เนื่องจากการออกแบบแสงสว่างที่ให้สามารถรองรับการใช้งาน 2 รูปแบบ คือ ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรม Racking System และ พื้นที่โล่งเก็บสินค้าทั่วไป การตวจสอบค่าความสว่างจึงมีรูปแบบการวัดที่แตกต่างกันเพื่อให้สอดคล้องและใกล้เคียงกับการใช้งานจริงมากที่สุด
ลักษณะการใช้งานแบบที่ 1: ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรม racking system
ตรวจวัดโดยการเปิดโคมไฟเพียงแถวเดียวเพื่อจำลองสถานการณ์การทำงานภายในช่อง rack ที่มีรถยกสินค้า หรือ รถโฟล์คลิฟท์ เก็บหรือหยิบสินค้าจากชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรม
ลักษณะการใช้งานแบบที่ 2: พื้นที่โล่งเก็บสินค้าทั่วไป และบริเวณขนถ่ายสินค้า
ตรวจวัดโดยการเปิดโคมไฟโดยรอบทุกโคม เนื่องจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง เช่น การโหลดสินค้า จุดพักสินค้ารอการคัดแยก และการจัดเตรียมสินค้าก่อนการจัดส่ง เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าไม่ว่าการจัดเก็บสินค้า หรือ กิจกรรมที่เกิดขึ้นในคลังสินค้าแห่งนี้จะเป็นรูปแบบไหน ค่าความสว่างยังได้ค่าไม่น้อยกว่า 200 ลักซ์ และการกระจายของแสงสว่างมีความสม่ำเสมอทำให้รู้สึกสบายตาในขณะทำงาน
keywords: ออกแบบแสงสว่าง, led high bay, โคมไฮเบย์ led, โกดัง, คลังสินค้า, box bright