การออกแบบเพื่อให้ได้ระบบแสงสว่างที่ดี นอกจากจะต้องให้ได้ปริมาณแสงสว่างที่เหมาะสมกับการใช้งาน ไม่มากหรือน้อยไปแล้ว ยังต้องให้ผู้ปฏิบัติงานอยู่ภายใต้แสงนั้น มีความรู้สึกสบายในการทำงาน และรู้สึกสบายในการใช้สายตา คือ ความจ้าของแสงที่เกิดจากไฟและสภาพแวดล้อมต้องกลมกลืนกัน ไม่มีแสงแยงตาจากดวงโคมโดยตรง หรือสะท้อนจากวัตถุ นอกจากนี้ยังต้องมีความสวยงามของระบบแสงสว่างที่ติดตั้ง ตลอดจนลักษณะของงานที่ทำด้วย
การปฏิบัติงานภายใต้ระบบแสงสว่างที่เหมาะสม ไม่เพียงแต่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานได้เร็วขึ้น มากขึ้น ละเอียดมากขึ้น มีความพึงพอใจในการทำงานมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้ขวัญกำลังใจของพนักงานดีขึ้นด้วย ในทำนองกลับกัน ถ้าพนักงานต้องทำงานในที่แสงสว่างไม่เพียงพอ อาจจะมีผลทำให้จำนวนครั้งของความผิดพลาดในการทำงาน มีมากขึ้น และถ้าพนักงานจะต้องทำงานอยู่ในสถานที่นั้นเป็นเวลานานๆ อาจจะมีผลกระทบให้กล้ามเนื้อตาล้า และเสื่อมง่าย
ชนิดของงานหรือกิจกรรมภายใน | Ēm (lux) |
ทางเข้าอาคาร (entrance halls) | 100 |
โถงพักรอ (lounge) | 200 |
บริเวณสัญจรและทางเดิน (circulation areas and corridors) | 100 |
บันได, บันไดเลื่อน (stairs, escalators) | 150 |
ห้องอาหาร (canteens) | 200 |
ห้องน้ำ (rest rooms) | 100 |
เก็บเอกสาร, ที่ถ่ายเอกสาร, โถงกลาง (filing, coping, circulation, etc.) | 300 |
เขียน, พิมพ์, อ่าน, จัดการข้อมูล (writing, typing, reading, processing) | 500 |
เขียนแบบ (technical drawing) | 750 |
โต๊ะเขียนแบบคอมพิวเตอร์ (CAD workstation) | 500 |
ห้องประชุม, ห้องสัมมนา (conference room, meeting room) | 300 |
โต๊ะพนักงานต้อนรับ (reception desk) | 300 |
ห้องเก็บเอกสารสำคัญ (archives) | 200 |
อ้างอิง
1.พิบูลย์ ดิษฐอุดม. การออกแบบระบบแสงสว่าง.กรุงเทพฯ: 2528.
2.สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย. คู่มือแนวทางการออกแบบการส่องสว่างภายในอาคาร.กรุงเทพฯ: